Abraham Maslow
มาสโลว์ เกิดวันที่ 2 เมษายน 1908 ใน Broklyn เมืองนิวยอร์ก เขาอยู่ในครบครัวของชาวยิวทีอพยพมา จากรัสเซียและมีพี่น้องอีก 7 คน เขาได้เรียนระดับปริญญากฎหมายที่ City College of New York (CCNY) แต่เรียนได้เพียง 3 เทอม ก็ได้โอนไปเรียนที่ Cornell University และโอนกลับมาที่ CCNY จนจบการศึกษา หลังจากนั้นเขาได้แต่งงานกับ Bertha Goodman มีบุตรด้วยกัน 7 คน ต่อมาเขาได้ย้ายไปอยู่วิสคอนซิน เพื่อที่จะเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิล ที่นี่เองที่เขาได้ค้นพบว่าเขาสนใจในวิชาจิตวิทยา เขาตั้งหน้าตั้งตาทำงานวิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยา ในที่สุดเขาก็จบปริญญาตรีในปี 1930 จบปริญญาโท ในปี 1931 และปริญญาเอกในปี 1934 โดยที่ปริญญา แต่ละใบเป็นวิชาที่ศึกษาด้านจิตวิทยาทั้งสิ้น
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจ และเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความต้องการจะได้รับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ
Abraham Maslow อธิบายว่าความต้องการที่ทำให้มนุษย์เกิดแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมว่าแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ความต้องการที่จำเป็นในการที่จะมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งต้องได้รับการตอบสนองก่อนจึงจะมีแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมเพื่อความต้องการอื่น ความต้องการระดับนี้ ถือเป็นความต้องการระดับต่ำ
อีกระดับหนึ่งเป็นความต้องการระดับสูง คือความต้องการที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญแห่งตน
- Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและความปรารถนา เหล่านี้จะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ความปรารถนา ขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ
Maslow เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้นไปสู่ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็นลำดับดังนี้
- ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs )
- ความต้องการความปลอดภัย ( Safety needs )
- ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love needs )
- ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Esteem needs )
- ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization needs )
1.ความต้องการพื้นฐานทางสรีระ (Basic physiological needs or Biological Needs, Physical Needs) ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) ความต้องการในขั้นนี้ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic Needs) ที่มีอำนาจมากที่สุด และเห็นได้ชัดที่สุด กว่าความต้องการทั้งหมด เป็นความต้องการที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ ความต้องการด้านปัจจัย 4 บำบัดความหิวกระหาย การพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการทางเพศ
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs and security) ความต้องการในขั้นนี้ สังเกตได้ง่ายในทารกและเด็กเล็ก เพราะวัยนี้เป็นวัยที่ต้องการการช่วยเหลือ และต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในวัยผู้ใหญ่ ความต้องการขั้นนี้ จะยังมีอิทธิพลต่อบุคคล โดยเฉพาะคนที่ทำงานในฐานะเป็นผู้คุ้มครอง หรืองานที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ความต้องการความปลอดภัย จะเกี่ยวข้องกับการเผชิญสิ่งต่างๆ เช่น สงคราม อาชญากรรม ภัยธรรมชาติ ความสับสน ไม่เป็นระเบียบของสังคม เป็นต้น
3.ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs or Social Needs) ความต้องการขั้นนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการด้านร่างกาย และความปลอดภัย ได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ต้องการความรัก และความเป็นเจ้าของ โดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว หรือกลุ่มสังคม และจะรู้สึกเจ็บปวดมาก เมื่อถูกทอดทิ้ง หรือไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม หรือแม้แต่กรณีที่จำนวนเพื่อน หรือสมาชิกในบ้านลดน้อยลงไป ผู้ที่ไปอยู่ในสังคมใหม่ จะเกิดความต้องการเป็นเจ้าของ และจะแสวงหาการยอมรับจากสังคมใหม่อย่างยิ่ง การขาดสิ่งนี้ทำให้มนุษย์เกิดความคับข้องใจ และเกิดปัญหาปรับตัวไม่ได้ ส่งผลเป็นความผิดปกติในพฤติกรรม หรือความเจ็บป่วยทางจิตใจ
4. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง (Esteem Needs, Self-Esteem Needs) คือ เมื่อบุคคลได้รับการตอบสนองด้านความรัก และความเป็นเจ้าของแล้ว จะส่งผลให้เกิดความต้องการในขั้นนี้เกิดขึ้น ความต้องการในขั้นนี้แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1) ความต้องการนับถือตนเอง (Self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความสามารถและความสำเร็จ ไม่ต้องพี่งพาอาศัยผู้อื่นและมีความอิสระ
2) ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others) คือ ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ได้รับความสนใจการยอมรับ และยกย่อง มีสถานภาพทางสังคมและเป็นที่ชื่นชมยินดี ทำให้ตนเองรู้สึกมีคุณค่า
1) ความต้องการนับถือตนเอง (Self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความสามารถและความสำเร็จ ไม่ต้องพี่งพาอาศัยผู้อื่นและมีความอิสระ
2) ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others) คือ ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ได้รับความสนใจการยอมรับ และยกย่อง มีสถานภาพทางสังคมและเป็นที่ชื่นชมยินดี ทำให้ตนเองรู้สึกมีคุณค่า
5. ความต้องการความสมหวังในชีวิต (Self-Actualization Needs, Self-realization , Self-fulfillment Needs) หมายถึง ความปรารถนาในสิ่งท้าทายทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งบุคคลจะได้รับโดยใช้ความสามารถ และศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ และอย่างเหมาะสม หากความต้องการในขั้นต้น ได้รับการตอบสนองมาโดยลำดับ ทำให้เกิดความพึงพอใจอย่างบริบูรณ์ ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงในระดับนี้ก็จะเกิดขึ้น บุคคลที่ประสบความสำเร็จ ในขั้นสูงสุดนี้จะใช้พลังอย่างเต็มที่ ในสิ่งที่ท้าทายความสามารถ และศักยภาพของตน มีความกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงตนเองเสมอ พลังแรงขับของเขาจะผลักดันให้เขาแสดงพฤติกรรม ที่ตรงกับความสามารถของตนออกมา
มหาตมะคานธี
มหาตมะคานธี
บุคคลตัวอย่างที่สามารถบรรลุความต้องการขั้นสูงสุดตามลำดับขั้นความต้องการของมาศโลว์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น